ย้อนอดีตเมืองสงขลา

ย้อนอดีตเมืองสงขลา


                                      
    สงขลาเป็นเมืองท่าทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ตอนล่างมาตั้งแต่อดีตอันยาวนาน มีชุมชมโบราณ เมืองเก่าแก่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ขนบธรรมเนียมประเพณีและการละเล่นพื้นเมือง ศิลปพื้นบ้านเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เช่น
วัดมัชฌิมาวาส
วัดมัชฌิมาวาส อยู่ที่ถนนไทรบุรี เป็นวัดใหญ่และสำคัญที่สุดในจังหวัดสงขลา วัดนี้เป็นวัดโบราณประมาณ 400 ปี เดิมเรียกว่าวัดยายศรีจันทร์ เพราะกล่าวกันว่ายายศรีจันทร์ คหบดีผู้มั่งคั่งในเมืองสงขลาได้อุทิศเงินสร้างขึ้น ต่อมาประชาชนพากันเรียกว่า "วัดกลาง"ทั้งนี้เพราะมีผู้สร้างวัดอื่นขึ้นทางทิศเหนือวัดหนึ่ง (วัดเลียบ) และทิศใต้อีก วัดหนึ่ง (วัดโพธิ์) ชาวสงขลา จึงเรียกวัดยายศรีจันทร์ว่า "วัดกลาง" ต่อมาจนทุกวันนี้ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น ภาษาบาลีว่า "วัดมัชฌิมาวาส" โดย พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เมื่อครั้งเสด็จเมืองสงขลา พ.ศ. 2431 นอกจากนี้ในวัดยังมีพิพิธภัณฑ์ ชื่อ ภัทรศิลป เป็นที่เก็บวัตถุโบราณ ต่าง ๆ ซึ่งรวบรวมได้จากเมืองสงขลา สทิงพระ ระโนด และอื่นๆ ซึ่งเป็นหลักฐานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ควรค่าแก่การศึกษา
เก้าห้อง ถนนนางงาม
ถนนนางงาม สงขลา หรือเก้าห้องย่านวัฒนธรรมจีน-ไทย สงขลายุคบ่อยาง
  เก้าห้อง เป็นชื่อดั้งเดิมของถนนนางงามซึ่งตั้งมาตั้งแต่ปี ๒๓๘๕ ครั้งตั้งหลักเมืองสงขลาใหม่ๆ หลังย้ายเมืองสงขลาจากฝั่งแหลมสนมายังฝั่งตะวันออก(บ่อยาง)ที่ได้ชื่อ เก้าห้องเนื่องจากถนนสายนี้มีบ้านอยู่ ๙ คูหา และได้เปลี่ยนชื่อจาก ถนนเก้าห้อง มาเป็นถนนนางงาม สาเหตุเพราะ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี ๒๔๗๕ ได้มีการเฉลิมฉลองและมีการประกวดนางงามสงขลาขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี ๒๔๗๘ ปรากฏว่าสาวงามจากถนนนางงาม ชื่อ นงเยาว์ (แดง) โพธิสาร สกุลเดิม บุญยศิวะ ลูกนายฮ่อง นางหั้ว บุญยศิวะ ได้รับคัดเลือกให้เป็นนางงามสงขลาคนแรก สมรสกับครูถ้อง หรือครูสหัส  โพธิสาร และต่อมาคนสงขลา เรียก ถนนเก้าห้อง ว่า ถนนนางงาม ติดปากมากกว่าเก้าห้อง มาจนบัดนี้ และ คุณหญิงกมลทิพย์  สุดลาภา ภริยา คุณเชาวัศน์  สุดลาภา ก็เป็นอดีตนางงามสงขลาอีกคนหนึ่งที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่ถนนนางงาม หรือ ย่านเก้าห้อง
ถนนนางงาม เป็นที่ตั้งของศาลหลักเมืองสงขลา ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) เป็นผู้สำเร็จราชการเมือง ถนนสายนี้เป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนจีนเก่าแก่นานเกือบ ๓๐๐ ปี ควบคู่กับถนนนครนอก นครใน จึงมี สถาปัตยกรรม อารยธรรม และวัฒนธรรม อาหารการกินของชาวจีนเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง รสชาติดี หลากหลายอย่าง อาทิ
  • ศาลหลักเมืองสงขลา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๕ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ และพระยาวิเชียรคีรี (บุญสังข์) เป็นผู้สำเร็จราชการเมือง

ศาลหลักเมืองสงขลาตั้งอยู่บรเวณเก้าห้อง ถนนนางงาม

สงขลายังมีอดีตที่น่าจดจำไม่ว่าจะเป็นสถานที่หรืออะไรก็ตาม ที่ยังคงความเป็นสงขลาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์อีกมากมาย ฉันจึงอยากฝากไว้ว่าเราควรช่วยกันอนุรักษ์สิ่งสำคัญเหล่านี้เอาไว้เพื่อไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาต่อไป